Thailand Web Stat Truehits.net

ปาดน้ำตา! ชาวบ้านหลังเขา บนเกาะลิบง หมดหวังหน่วยงานรัฐไร้น้ำยา คลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง

ปาดน้ำตา! ชาวบ้านหลังเขา ม.5 บนเกาะลิบง หมดหวังหน่วยงานรัฐไร้น้ำยา คลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง 10 ครัวเรือน ถูกกลืนหายนานกว่า 10 ปี ยังไร้วิธีการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จ่อถล่มอีกหลายหลัง เผยนอนไม่หลับผวาทั้งคืน หวั่นมรสุมนี้รุนแรง อาจซัดบ้านไปอีกหลัง ขณะที่ ป.ป.ช.ลุยเดินหน้าตรวจสอบ หลังกรมชลฯ จ่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะ ลั่นฟันไม่เลี้ยงหากมีการทุจริตเกิดขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 ธ.ค.63 นายราม วสุธนภิญโญ ผอ.สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดตรัง พร้อมด้วย นายยุทธนา วิมลเมือง เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ กรรมการชมรมตรังต้านโกง และสื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่บริเวณชายฝั่งบ้านหลังเขา หมู่ 5 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางกว่า 50 เมตร จากผืนแผ่นดินเดิม ซึ่งขณะนี้กลายเป็นทะเล จนทำให้บ้านเรือนของชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 10 ครัวเรือนต้องพังถล่มจมหายไปในทะเล ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมาเป็นระเวลากว่า 10 ปีแล้ว และพื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านต่างถือคลองที่ดินเป็น น.ส.3 และ ส.ค.1

จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่าบริเวณชายฝั่ง ซึ่งในขณะนี้กลายเป็นชายหาด พบซากประหลักหักพังของโครงสร้างบ้านเกลื่อนบนพื้นชายหาด บ้านอีกจำนวนหนึ่งที่กำลังถูกนน้ำทะเลกัดเซาะอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งบ้านที่เหลือแต่โครงสร้าง พื้นบ้านฝาพนังพังหายไปกับน้ำ พร้อมกันนั้นได้มีไม้จำนวนมากปังเรียงกันบริเวณหาด โดยเป็นโครงการของเจ้าหน้าที่รัฐที่หวังว่าจะแก้ไขปัญหา แต่ไม่สามารถทำได้

โดยในครั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ตรัง ได้ลงพื้นที่เนื่องจาก ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง จะมีการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งหวังว่าจะเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน งบประมาณกว่า 90 ล้านบาท ในขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยทาง ป.ป.ช.ได้ลงตรวจสอบเพื่อที่จะเป็นการป้องกันและปราบปรามการไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ หากมีการดำเนินจริง และเพื่อเป็นการลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน

นางเสาะ หมาดหลี อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 45/1 บ้านหลังเขา หมู่ที่ 5 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง กล่าวว่า บ้านโดนคลื่นกัดเซาะลงทะเลจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี รวม 5-6 หลัง แล้ว ที่ผ่านมาชาวบ้านทำป้ายไวนิลติดเอาไว้เพื่อเรียกร้องไปยังหน่วยงาน แต่เมื่อมีทางผู้ใหญ่เขาลงมาในพื้นที่ ทางเจ้าหน้าที่ที่นี่เอาออกไปเพราะกลัวเสียหน้า ซึ่งที่นี่ตนเองอยู่มาตั้งแต่เกิดเลย ซึ่งทราบว่าทางกรมโยธาเขาจะมาทำกำแพงหินเอาหินก้อนใหญ่เป็นตันๆ ลงมา แต่ทราบว่ามีการคัดค้าน ตนเองอยากให้เขาสร้างเขื่อนตามแบบแปลนที่เขาให้มา เป็นฐานหินลึกลงไปสูงท่วมศีรษะคนและจะตั้งหินต่อเพิ่มแต่ไม่ลาดพื้น  ก่อนหน้านี้เคยสร้างมาครั้งหนึ่งแต่ได้พังชำรุดลงเกือบ 5 ปี แล้ว มาซ่อมแซมแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้เพราะเอาทรายใส่กระสอบมากั้นเอาไว้  ตอนนี้ชาวบ้านต้องการพนังกั้นคลื่นมากเพราะบ้านของตนโดนคลื่นกัดเซาะเกือบหมดทั้งหลังแล้ว ซึ่งตนเชื่อว่าแก้ปัญหาได้

ขณะที่ นางสาวญะวาฮิต ทิพย์ร่วง อายุ 33 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ อสม. กล่าวว่า ช่วงมรสุมที่ผ่านมาพื้นที่ของตนหายไปเกือบ 2 เมตร  ซึ่งคาดว่ามรสุมหน้าจะเกิดการกัดเซาะถึงตัวบ้าน ซึ่งยอมรัยว่าโทษใครไม่ได้เพราะตนเลือกเกิดมาตรงนี้นานแล้ว  ตนเองอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยพวกเราบ้างเพราะตนเองเป็น อสม. ก็ช่วยเหลือสังคมมาบ้างแล้ว ควรจะมาดูแลเราบ้าง  หลายครั้งที่มีผู้ใหญ่ลงมาในพื้นที่ตนเองก็พยายามเข้าไปเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ถูกกีดกันจนเข้าไปไม่ถึง ตนมองว่ามีความจะเป็นมากเพราะตอนนี้พื้นที่เป็นไต้ถุนบ้านไม่มีแล้ว พอออกจากตัวบ้านก็ตกลงไปในทะเลเลย ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นหาดไกลออกไปหลาย 10 เมตร  ซึ่งมีบ้าน 2-3 หลังที่จมหายไปในทะเล จึงเริ่มนับจากบ้านตนและทำกำแพงให้แต่ก็ไม่เคยได้สร้าง  พวกตนไปประท้วงที่จังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมมาแล้ว ซึ่งพวกตนมีเป้าหมายจะไปร้องที่ กทม.แต่ไม่มีงบประมาณ ตนมีความหวังเพียง 10 % เท่านั้นที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาซ่อมแซมแก้ไข

ด้าน นายอาทร เหล็กเกิดผล อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 58/3  บ้านหลังเขา หมู่ที่ 5 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง กล่าวว่า พื้นที่บริเวณที่โดนกัดเซาะขยายเป็นวงกว้างเข้ามาเกือบ 40-50  เมตร ซึ่งพื้น ที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดิน น.ส.3 ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้ามาเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล  มีแบบให้เลือก 6 แบบ เมื่อวันพุธที่ 18  พ.ย. 2563 ที่โรงเรียนบาตูปูเต๊ะที่ผ่านมา ซึ่งตนได้เสนอให้ทำเป็นลูกระนาดเพื่อชะลอแรงกระแทกจากคลื่นที่ซัดเข้ามายังฝั่ง และพื้นที่ชายฝั่งให้ทำพื้นลาดลงสู่ชายหาด เพื่อลดความแรงของคลื่นที่ซัดเข้าฝั่งและสะดวกต่อชาวบ้านที่นำเรือเข้ามาหลบคลื่นหรือนำมาซ่อมแซม  หรือเอาทรายมาถมเพื่อเพิ่มเนื้อที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งการสร้างลูกระนาดเพื่อชะลอแรงกระแทกจากคลื่นที่ซัดเข้ามายังฝั่ง ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองแจ้งว่าต้องแจ้งกรมเจ้าท่าก่อน.

Leave a Comment

Your email address will not be published.